ดื้อโบท็อกซ์ ก็มีด้วยหรอ?

ดื้อโบท็อกซ์

“ไปย้ำโบ”

คำพูดติดปากของสาวๆหลายๆคนที่ต้องไปเติมโบท็อกซ์หลังจากผ่านะระยะเวลามาตามสมควร แต่ทราบไหมคะว่าการที่โบทูลินุ่มท๊อกซินอยู่ได้นานน้อยลง อาจจะเป็นหนึ่งสาเหตุที่หน้าของเราเริ่ม #ดื้อโบทูลินุ่มท๊อกซิน

ดื้อโบทูลินุ่มท๊อกซินเกิดจากอะไร

ดื้อโบท็อกมีสาเหตุมาจากการฉีโบทูลินุ่มท๊อกซิน ที่มีความไม่บริสุทธ์เพียงพอหรือเรียกง่ายๆคือไม่มีคุณภาพนั่นเองจ้า ทำให้ร่างกายของเราสร้างภูมิคุ้มกันสิ่งแปลกปลอมขึ้นมา จนในที่สุด ฉีดไปมากแค่ไหนหน้าก็ไม่เล็ก ริ้วรอยก็ไม่ลด เจอแบบนี้เศร้าเลย

โบทูลินุ่มท๊อกซิน หรือ โบท็อกซ์ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ

  1. เนื้อยา (ส่วนที่เราต้องการให้ออกผล) = เรียกส่วนนี้ว่า “Pure Protein หรือ Core Protein” >>> ยิ่งเยอะ ยิ่งออกฤทธิ์ได้ดี
  2. น้ำ และ สิ่งเจือปนอื่นๆ (เป็นส่วนที่เราไม่ต้องการ) = เรียกส่วนนี้ว่า “Complexing Protein หรือ Antigen Protein” >>> ยิ่งเยอะ ยิ่งไม่ดี ทำให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นกันขึ้นมาทำลาย และเกิดภาวะดื้อโบตามมาได้ ซึ่งโบท็อกซ์แต่ละชนิด(หรือแบรนด์) จะมีความต่างกันที่ complexing protein โดยจะมีส่วนประกอบของ complexing protein ที่รูปร่างและน้ำหนักแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ร่างกายก็จะจดจำแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแบรนด์บ่อยๆมีโอกาสทำให้ได้รับ complexing protein ที่เยอะขึ้น โอกาสดื้อยาก็จะเยอะขึ้นด้วย
[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]

ดื้อโบทูลินุ่มท๊อกซินเช็คยังไง

1. สังเกตอาการตัวเองหลังฉีดโบทูลินุ่มท๊อกซิน ระยะเวลาของโบท็อกซ์บนหน้าของเราสั้นลง เช่น ปกติริ้วรอยของเราจะเริ่มกลับมาในเดือนที่ 5 แต่ลดลงมาอยู่ที่เดือนที่ 3 นั่นเอง และลดลงเรื่อย ๆ  จนในที่สุดการฉีดโบท็อกซ์ไม่ได้ผลอีกต่อไป หรืออาจไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ (เช่น ริ้วรอยไม่หาย ขนาดกรามไม่ลดลง)

2. ฉีดแล้วไม่เห็นผล จนต้องเพิ่มปริมาณ เช่น ปกติเราจะฉีดโบท็อกซ์กรามที่ 50 ยูนิต แต่ต้องเพิ่มขึ้นเป็น 60-70 ยูนิต ก็เป็นอีกหนึ่งข้อของอาการดื้อโบทูลินุ่มท๊อกซินจ้า

[row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″] [row_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_5] [/row_inner_5]

ควรระวังยาปลอมหรือตัวยาที่ไม่ได้มาตรฐาน (เช่น ยาหิ้ว ยาปลอม ยาที่ไม่มีอย. มักพบกรณีที่ราคายาถูกมากจนผิดสังเกต ไม่ยอมโชว์ตัวยาก่อนฉีด ไม่ให้ดูกล่องยาหรือตรวจสอบเลข อย.ก่อนฉีดจริง) มักมีสารปนเปื้อนสูง ทำให้ฉีดแล้วไม่เห็นผล

 แต้ถ้ามั่นใจแล้วว่าเป็นยาแท้และปริมาณที่ฉีดถูกต้อง 

  • สามารถทำการทดสอบได้โดยให้แพทย์ฉีดหน้าผากหรือจุดที่มีริ้วรอยเพียงฝั่งเดียว และรอดูผลลัพธ์หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ หากริ้วรอยไม่หายไปแสดงว่ามีภาวะดื้อโบท็อกซ์ (Frontalis test)
  • ส่งผลเลือดตรวจซึ่งมี 2 Test คือ
    • Test 1 สำหรับตรวจดูว่าคนไข้มีความเสี่ยงดื้อโบทูลินุ่มท๊อกซินไหม
    • Test 2 สำหรับตรวจคนไข้ที่ดื้อนั้นว่ายังสามารถตอบสนองต่อ Pure toxin ได้หรือไม่ โดยตรวจหาภูมิคุ้นกัน (Antibody) ต่อ complexing protein ในเลือดคนไข้
[/col_inner_4] [/row_inner_4] [/col_inner_3] [/row_inner_3]

ดื้อโบทูลินุ่มท๊อกซินทำไงดี?

หากพบว่าตนเองมีอาการดื้อโบทูลินุ่มท๊อกซินต้องเปลี่ยนยี่ห้อ หรือหยุดฉีดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี หรือถ้าร้ายแรงสุดๆอาจต้องหยุดฉีดตลอดชีวิต ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ด้วยนะคะ

ถึงแม้ว่าจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่สาวๆคนเศร้าไม่น้อยที่กรามจะกลับมาเด้ง รอยย่นบนหน้าก็จะกลับมา ดังนั้นเลือกฉีดโบทูลินุ่มท๊อกซินจากคลินิกที่ได้มาตรฐาน และมั่นใจได้ว่าเราจะได้รับโบทูลินุ่มท๊อกซินของแท้ด้วยน้า

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดื้อโบทูลินุ่มท๊อกซิน

  1. ใช้โบทูลินุ่มท๊อกซินที่ปราศจากคอมเพล็กซิ่งโปรตีน หรือ โบบริสุทธิ์ (Purified Toxin product) ซึ่งปัจจุบันมีเพียง โบเจนใหม่ของเยอรมัน
  2. ไม่ควรเปลี่ยนยี่ห้อโบทูลินุ่มท๊อกซินบ่อยเกินไป
  3. ฉีดปริมาณ (โดส) ที่เหมาะสม
  4. หากจะฉีดในครั้งต่อไป ควรเว้นระยะห่างจากการฉีดครั้งแรก อย่างน้อย 90 วัน (3 เดือน)
  5. ควรเลือกฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ และ จากสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และ ไม่ได้ผลลัพธ์เท่าที่ควรจะเป็น
  6. เลือกใช้ตัวยาที่ได้มาตรฐาน ผ่าน อย.ไทย ควรระวัง ยาหิ้ว ยาปลอม ยาที่ไม่มีอย. ไทย ซึ่งจุดสังเกตคือ ราคายาถูกมากจนผิดสังเกต ไม่ยอมโชว์ตัวยาก่อนฉีด ไม่ให้ดูกล่องยาหรือตรวจสอบเลข อย.ก่อนฉีดจริง ทางที่ดีควรเช็คกับบริษัทผู้นำเข้าก่อนฉีด โดยแต่ละยี่ห้อมักจะมีตัวแทนผู้จำหน่ายเพียงรายเดียวต่อแบรนด์ในประเทศ

cosmoclinic ได้รับรางวัลคลินิกที่มียอดสั่งซื้อBotulinumToxin สูงสุดระดับประเทศ

References

  1. Resistance to โบทูลินุ่มท๊อกซิน in Aesthetics By Sebastián Torres Farr Submitted: June 13th 2017Reviewed: September 6th 2017Published: December 20th 2017 DOI: 10.5772/intechopen.70851
  2. Xeomin® Webinar: Role of Anti-Complexing Protein Antibody in Secondary BONT-A Treatment Failure in Cosmetic Indication