การ ฉีดสลายฟิลเลอร์ (Hyaluronidase Injection) เป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดผลข้างเคียง เช่น ฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน ผิวไม่เรียบเนียน หรือฉีดผิดตำแหน่ง โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้ฟิลเลอร์ประเภท Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งสามารถสลายได้อย่างปลอดภัยด้วยเอนไซม์ Hyaluronidase
อ่านเรื่อง ::ฟิลเลอร์คืออะไร::
สารบัญฉีดสลายฟิลเลอร์
ประเภทของฟิลเลอร์
สารเติมเต็มชนิดต่างๆจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทนั่นคือ สารเติมเต็มชนิดแบบชั่วคราวสลายได้ (Temporary filler) ,สารเติมเต็มแบบกึ่งถาวร (Semi-Permanent Filler) และ สารเติมเต็มแบบถาวรที่ไม่สลาย (Permanent filler)
-
สารเติมเต็มแบบชั่วคราว (Temporary Filler)
สารเติมเต็มแบบชั่วคราว เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง ได้รับความนิยมมาก และ เป็นชนิดที่ผ่าน อย.ประเทศไทย เนื่องจากสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ จากเอนไซม์ Hyaluronidase ในร่างกาย สารเติมเต็มชนิดนี้เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ได้น้อย ตัวอย่าง Temporary filler เช่น
สารในกลุ่มไฮยาลูรอนิกแอซิด (HA) เป็นสารที่นิยมใช้มากที่สุด มีความปลอดภัย สลายได้หมด และหากไม่พอใจในผลลัพธ์หลังฉีด ก็สามารถฉีดสาร Hyaluronidase เพื่อสลายสารเติมเต็มได้ สารเติมเต็มในกลุ่มนี้มีหลายยี่ห้อ เช่น Neuramis, Restylane หรือ Juvederm
ไขมันของตัวเอง ( Fat grafting) หรือเรียกว่าการเติมไขมัน เหมาะกับผู้ที่ต้องการฉีดครั้งละมากๆ มีข้อเสียคือ หลังทำการเติมไขมันอาจจะมีใบหน้าบวมมาก ต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้น 7-14 วัน
-
สารเติมเต็มแบบกึ่งถาวร (Semi-Permanent Filler)
เช่น สาร PMMA (Polymethyl-methacrylate),สารโพลีอัลคิลลิไมด์ (Polyakylimide) และ สารโพลีแลคตดิก แอสิด PLLA (Polylactic acid) สารเติมเต็มแบบกึ่งถาวรจะมีอายุยาวกว่าสารเติมเต็มแบบชั่วคราว โดยปัจจุบันยังไม่ได้รับความนิยมมากนักในการใช้งาน เนื่องจากสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มากกว่าสารชนิดไม่ถาวร
-
สารเติมเต็มแบบถาวร (Permanent Filler)
ตัวอย่างสารเช่น ซิลิโคนเหลว หรือ พาราฟิน เป็นฟิลเลอร์ที่ได้รับความนิยมมากในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้ เนื่องจากก่อให้เกิดปัญหากับผู้ฉีดมากที่สุด เพราะเป็นสารชนิดที่ไม่สลาย สารเติมเต็มชนิดนี้จะทำปฎิกิริยากับเนื่อเยื่อข้างเคียงของใบหน้าทำให้เกิดอาการแข็งเป็นก้อน หรือที่เรียกว่าเป็นพังผืด หรือไหลลงไปรวมกับจุดอื่น ๆ ของใบหน้า ทำให้ใบหน้าผิดรูป การก้ไขคือการทำศัลยกรรมเพื่อขูดสารเติมเต็มชนิดนี้ออก
ฟิลเลอร์ Neuramis คืออะไร
ฟิลเลอร์ Restylane คืออะไร
ปัญหาที่การฉีดสลายฟิลเลอร์ช่วยแก้ไขได้
- ฟิลเลอร์เป็นก้อน
เกิดจากการฉีดในปริมาณที่ไม่เหมาะสมหรือการกระจายตัวไม่ดี - ฟิลเลอร์ฉีดผิดตำแหน่ง
ส่งผลให้ใบหน้าเสียสมดุล เช่น ขอบตาบวม หรือแก้มไม่เท่ากัน - ฟิลเลอร์ผิวไม่เรียบ
ฟิลเลอร์กระจายตัวไม่ดี ทำให้ผิวดูไม่เนียนสวย - อาการแพ้หรืออักเสบ
ในกรณีที่เกิดการแพ้ฟิลเลอร์ การฉีดสลายช่วยลดอาการได้ - ต้องการปรับแก้ไขผลลัพธ์
เช่น อยากแก้ไขทรงจมูกหรือคางที่ได้จากการฉีดฟิลเลอร์
อ่านเรื่องการป้องกันการเกิดข้อแทรกซ้อนจากการฉีดฟิลเลอร์
อ่านเรื่องอันตรายจากฟิลเลอร์ที่ควรรู้
วิธีการฉีดสลายฟิลเลอร์
แพทย์จะฉีด Hyaluronidase เข้าไปในบริเวณที่มีฟิลเลอร์สะสมอยู่ เอนไซม์จะทำหน้าที่สลาย Hyaluronic Acid ฟิลเลอร์จะถูกย่อยสลายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงถึง 1-2 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณฟิลเลอร์และการตอบสนองของร่างกาย
การฉีดสลายฟิลเลอร์อันตรายหรือไม่
อันตรายหลังการฉีดฟิลเลอร์ที่พบได้คือ อาการแพ้ หรือบวมแดงบริเวณที่ฉีด ซึ่งสามารถพบได้ แต่ไม่บ่อยนัก โดยปกติผลข้างเคียงมักไม่รุนแรง
ฉีดสลายฟิลเลอร์เห็นผลในกี่วัน
ปกติหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ตัว Hyaluronidase จะเข้าไปทำการสลาย Hyaluronic acid ในทันที แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ต่างชนิดกันจะมีปริมาณ Hyaluronic acid ในฟิลเลอร์แตกต่างกัน ฟิลเลอร์เนื้อแข็งที่มีปริมาณ Hyaluronic acid มากกว่าอาจจะต้องได้รับการฉีดสลายมากกว่า 1 ครั้ง โดยแพทย์จะทำการนัดหมาย 1 สัปดาห์เพื่อติดตามผล โดยปกติหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ จะมีอาการยุบบวมเป็นปกติใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง
การประคบร้อนช่วยสลายฟิลเลอร์ได้จริงหรือไม่
ความร้อนไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการสลายฟิลเลอร์ แต่สามารถส่งผลให้อายุของฟิลเลอร์สั้นลงได้ นอกจากนั้นบริเวณที่ขยับหรือใช้งานบ่อยๆเช่น การฉีดฟิลเลอร์ที่ปากก็ทำให้อายุของฟิลเลอร์สั้นกว่าการฉีดฟิลเลอร์บริเวณตำแหน่งอื่นๆบนใบหน้า