การป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์
1. ฉีดฟิลเลอร์ที่เป็นสาร Hyaluronic acid
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลายอย่าง ที่ช่วยในการลดริ้วรอย ทำให้ร่องลึกดีขึ้น การฉีดสารเติมเต็มเป็นหนึ่งในหลายๆวิธี การเลือกสารเติมเต็มก็เป็นสิ่งสำคัญ เราคงเคยได้ยินสารเติมเต็มหลายๆชนิด เช่น ไขมัน ซิลิโคนเหลว หรือ Hyaluronic acid
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับผลข้างเคียงคือการที่สารเติมเต็มไปอุดตันเส้นเลือด เพราะฉะนั้น เราควรเลือกใช้สารเติมเต็มที่มียาสลายได้ เช่น การฉีด Hyaluronic acid เนื่องจากสามารถสลายพันธะได้ด้วยการฉีด เอนไซม์ hyaluronidase สามารถทำให้รักษาการอุดตันเส้นเลือดได้ทันท่วงที
สำหรับการใช้สารเติมเต็มชนิดอื่น หรือไขมันตัวเองนั้น ถึงแม้ว่าจะสลายไปได้ แต่ต้องใช้เวลาในการสลายตัวเองหลายเดือน และ ไม่มียาไปสลายสารนั้นโดยจำเพาะ ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น การอุดตันเส้นเลือด ผิวหนัง และตา ไม่สามารถรอให้เกิดภาวะขาดเลือดได้นาน จึงเป็นความเสี่ยงสูงมาก
2. หลีกเลี่ยงหรือ งดฉีดฟีลเลอร์ บริเวณที่มีความเสี่ยงสูง
จากรายงานวิจัยที่เกิดอาการตาบอดหลังจากฉีดฟิลเลอร์นั้น บริเวณที่เสี่ยงมากได้แก่
บริเวณหว่างคิ้ว ( Glabella) 38 ราย
บริเวณจมูก 25 ราย
บริเวณร่องแก้ม (nasolabial fold) 13 ราย
บริเวณหน้าผาก 12 ราย
หากต้องการฉีดบริเวณเหล่านี้ควรเลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และคลินิกที่น่าเชื่อถือเพื่อลดอัตราการเกิดข้อผิดพลาด
3.ใช้การฉีดโดยใช้เข็มทู่ (Blunt canula)
ในปัจจุบันมีการใช้เข็มชนิดพิเศษที่เรียกว่าเข็มปลายทู่หรือ blunt cannula แทนการใช้เข็มปลายแหลมปกติ ซึ่งมีงานวิจัยรองรับว่าเข็มชนิดนี้ลดโอกาสเกิดการทำลายเนื้อเยื่อ หรือการทำลายเส้นเลือดได้ดีกว่าเข็มแหลมปกติ
4. เลือกสถานประกอบการที่มีความพร้อม
ทั้งแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง มียาสลายฟิลเลอร์ และมีอุปกรณ์พร้อมในการรักษาผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
5.สังเกตุอาการตนเองหลังจากฉีดฟิลเลอร์
เมื่อผู้ถูกฉีดฟีลเลอร์ มีอาการผิดปกติใดๆ ต้องรีบแจ้งแพทย์ผู้ทำการฉีดทันที
เช่น ปวด เจ็บ บริเวณที่ฉีด ขณะที่ทำการฉีด ปวดศีรษะ ตามัว เห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ อาเจียน
รวมถึงต้องสังเกตอาการภายหลังจากฉีดฟิลเลอร์ไปแล้ว
เช่น สังเกตสีผิวบริเวณที่ฉีด ถ้าสีเปลี่ยนแปลง คล้ำม่วงมากขึ้น หรือสีแดงผิดปกติ
อ่านเรื่องผลข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์