ฉีดสลายฟิลเลอร์
หากการฉีดฟิลเลอร์แล้วไม่เป็นดังใจหวังนอกจากจะต้องรอฟิลเลอร์สลายตัวเองซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาเป็นปีแล้วนั้น การฉีดสารเพื่อสลายฟิลเลอร์เป็นอีกหนึ่งในทางออก สารที่เราฉีดสลายฟิลเลอร์เรียกว่า ไฮยาลูโรนิเดส Hyaluronidase ซึ่งเป็น เอนไซม์ชนิดหนึ่งเข้าไปสลายพันธะของ ไฮยาลูโรนิค แอสิด ที่เป็นส่วนประกอบในฟิลเลอร์ของเราเพื่อลดการอุ้มน้ำ และทำให้ฟิลเลอร์ยุบตัวลงได้นั่นเองค่ะ
อ่านเรื่อง ::ฟิลเลอร์คืออะไร::
ประเภทของฟิลเลอร์
สารเติมเต็มชนิดต่างๆจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทนั่นคือ สารเติมเต็มชนิดแบบชั่วคราวสลายได้ (Temporary filler) ,สารเติมเต็มแบบกึ่งถาวร (Semi-Permanent Filler) และ สารเติมเต็มแบบถาวรที่ไม่สลาย (Permanent filler)
-
สารเติมเต็มแบบชั่วคราว (Temporary Filler)
สารเติมเต็มแบบชั่วคราว เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง ได้รับความนิยมมาก และ เป็นชนิดที่ผ่าน อย.ประเทศไทย เนื่องจากสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ จากเอนไซม์ Hyaluronidase ในร่างกาย สารเติมเต็มชนิดนี้เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ได้น้อย ตัวอย่าง Temporary filler เช่น
-
- สารในกลุ่มไฮยาลูรอนิกแอซิด (HA) เป็นสารที่นิยมใช้มากที่สุด มีความปลอดภัย สลายได้หมด และหากไม่พอใจในผลลัพธ์หลังฉีด ก็สามารถฉีดสาร Hyaluronidase เพื่อสลายสารเติมเต็มได้ สารเติมเต็มในกลุ่มนี้มีหลายยี่ห้อ เช่น Neuramis, Restylane หรือ Juvederm
- ไขมันของตัวเอง ( Fat grafting) หรือเรียกว่าการเติมไขมัน เหมาะกับผู้ที่ต้องการฉีดครั้งละมากๆ มีข้อเสียคือ หลังทำการเติมไขมันอาจจะมีใบหน้าบวมมาก ต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้น 7-14 วัน
-
สารเติมเต็มแบบกึ่งถาวร (Semi-Permanent Filler)
เช่น สาร PMMA (Polymethyl-methacrylate),สารโพลีอัลคิลลิไมด์ (Polyakylimide) และ สารโพลีแลคตดิก แอสิด PLLA (Polylactic acid) สารเติมเต็มแบบกึ่งถาวรจะมีอายุยาวกว่าสารเติมเต็มแบบชั่วคราว โดยปัจจุบันยังไม่ได้รับความนิยมมากนักในการใช้งาน เนื่องจากสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มากกว่าสารชนิดไม่ถาวร
-
สารเติมเต็มแบบถาวร (Permanent Filler)
ตัวอย่างสารเช่น ซิลิโคนเหลว หรือ พาราฟิน เป็นฟิลเลอร์ที่ได้รับความนิยมมากในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้ เนื่องจากก่อให้เกิดปัญหากับผู้ฉีดมากที่สุด เพราะเป็นสารชนิดที่ไม่สลาย สารเติมเต็มชนิดนี้จะทำปฎิกิริยากับเนื่อเยื่อข้างเคียงของใบหน้าทำให้เกิดอาการแข็งเป็นก้อน หรือที่เรียกว่าเป็นพังผืด หรือไหลลงไปรวมกับจุดอื่น ๆ ของใบหน้า ทำให้ใบหน้าผิดรูป การก้ไขคือการทำศัลยกรรมเพื่อขูดสารเติมเต็มชนิดนี้ออก
ฟิลเลอร์ Neuramis คืออะไร
ฟิลเลอร์ Restylane คืออะไร
ปัญหาแบบไหนที่ควรฉีดสลายฟิลเลอร์ออก
ปัญหาที่พบได้บ่อยคือ ฉีดแล้วไม่เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า เช่น
- ใช้จำนวนฟิลเลอร์มากเกินไป
- ใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับบริเวณที่ทำการฉีด
- ฉีดบริเวณที่ไม่เหมาะสม
การป้องกันการเกิดข้อแทรกซ้อนจากการฉีดฟิลเลอร์
อันตรายจากฟิลเลอร์ที่ควรรู้
การฉีดสลายฟิลเลอร์อันตรายหรือไม่
อันตรายหลังการฉีดฟิลเลอร์ที่พบได้คือ อาการแพ้ หรือบวมแดงบริเวณที่ฉีด ซึ่งสามารถพบได้ แต่ไม่บ่อยนัก โดยปกติผลข้างเคียงมักไม่รุนแรง
ฉีดสลายฟิลเลอร์เห็นผลในกี่วัน
ปกติหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ตัว Hyaluronidase จะเข้าไปทำการสลาย Hyaluronic acid ในทันที แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ต่างชนิดกันจะมีปริมาณ Hyaluronic acid ในฟิลเลอร์แตกต่างกัน ฟิลเลอร์เนื้อแข็งที่มีปริมาณ Hyaluronic acid มากกว่าอาจจะต้องได้รับการฉีดสลายมากกว่า 1 ครั้ง โดยแพทย์จะทำการนัดหมาย 1 สัปดาห์เพื่อติดตามผล โดยปกติหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ จะมีอาการยุบบวมเป็นปกติใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง
การประคบร้อนช่วยสลายฟิลเลอร์ได้จริงหรือไม่
ความร้อนไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการสลายฟิลเลอร์ แต่สามารถส่งผลให้อายุของฟิลเลอร์สั้นลงได้ นอกจากนั้นบริเวณที่ขยับหรือใช้งานบ่อยๆเช่น การฉีดฟิลเลอร์ที่ปากก็ทำให้อายุของฟิลเลอร์สั้นกว่าการฉีดฟิลเลอร์บริเวณตำแหน่งอื่นๆบนใบหน้า
สรุป ฟิลเลอร์ชนิดที่สามารถสลายได้คือ ฟิลเลอร์ในกลุ่มที่มีส่วนประกอบของ กลุ่มไฮยาลูรอนิกแอซิด (HA) เท่านั้น ซึ่งเป็นชนิดที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ฟิลเลอร์ในกลุ่มอื่นๆ เช่น จะไม่สามารถย่อยสลายเองตามธรรมชาติได้ การแก้ปัญหาฟิลเลอร์ชนิดที่ไม่สลายเองนั้น ต้องทำการผ่าตัด ขูดเนื้อฟิลเลอร์ และ ตัดเนื้อเยื่อรอบๆออกนั่นเอง